โทร. 02 926 6422-4

ภาษาไทย   English
 
Home Article
 
 

ข้อพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน

 

ข้อพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อบ้านมือสอง


การตัดสินใจซื้อบ้านหลังใหม่เป็นการแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัว อย่างไรก็ตาม การ
เลือกซื้อบ้านก็ต้องพิจารณาในพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งพอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้คือ


ข้อที่ 1 ตรวจสอบความต้องการซื้อบ้านประเภทใด เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด หรือคอน โดมิเนียม นั่นคือเลือกบ้านให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว ต้องคิดเสมอว่าการเลือกซื้อบ้านในชีวิตหนึ่ง อาจซื้อเพียงครั้งเดียวต้องพิจารณาให้รอบคอบซักหน่อย ใช้เวลาตัดสินใจนานคงไม่เป็นไร

เพราะถ้าซื้อ บ้านเล็กเกินไป ก็จะทำให้เกิดปัญหาแออัด ไม่เป็นส่วนตัว อย่าลืมว่าต้องการซื้อบ้าน หลังใหม่เพราะอะไร พอซื้อไปแล้วก็เกิดปัญหาแออัดอยู่อีก ถึงเวลานั้นก็คงจะสายไปเพราะจ่ายเงินซื้อบ้าน ไปแล้ว หรือเลือก บ้านใหญ่เกินไป แต่อยู่กันแค่ 2 คน ก็จะมีปัญหาเรื่องการดูแลรักษา และคงทำให้ บรรยากาศในบ้านดูวังเวงเงียบเหงาเกินไป
นอกจากเลือกประเภทบ้านแล้ว ก็ควรให้ความสำคัญกับ แบบบ้านกันซักนิด เพราะถือว่าเป็นหน้า ตาของสมาชิกในครอบครัวได้เหมือนกัน แบบบ้านที่ว่าได้แก่ แบบบ้านคลาสสิค ดูเรียบ ๆ ไม่ฉูดฉาด หรือ จะเป็นแบบบ้านโมเดิร์น ที่เป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาว บ้านมักจะเป็นรูปทรงแปลก ๆ บางหลังใช้สีดูแล้ว บาดตาบาดใจเหลือเกิน


ข้อที่ 2 พิจารณาทำเล โดยทั่วไปแล้วจะพิจารณาถึง ระบบโครงข่ายคมนาคม ความสะดวก ในการเดินทาง ทางเข้าออกในหมู่บ้าน ระบบขนส่งมวลชน รถเมล์ รถสองแถวหน้าหมู่บ้านหรือแม้กระทั่ง วินมอเตอร์ไซด์ เหล่านี้ต้องสะดวก

ที่ตั้งของบ้านใหม่ต้องตั้งอยู่ในทำเลที่คนในบ้านเดินทางใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปที่ทำงาน หรือโรง เรียนสถาบันการศึกษา น้อยที่สุด หรือไม่มากเท่ากับที่เคยใช้ตอนอยู่ที่บ้านหลังเก่า

ข้อที่ 3 ตรวจสอบแนวเวนคืน ตรวจสอบซ้ำเกี่ยวกับการเวนคืน จากการสอบถามเพื่อนบ้าน หรือติด ต่อไปที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สำนักการโยธา กทม. หรือที่สำนักงาน เขตก็ได้ เพื่อให้แน่ใจว่า ซื้อบ้านไปแล้วจะไม่โดนเวนคืนทีหลัง

เพราะเกิดกรณีเป็นประจำ คือ เจ้าของบ้านเดิมทราบเรื่องเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินก็พยายามขายทรัพย์สินของ ตน ก่อนจะมีกฎหมายห้ามการขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน แล้วตั้งราคาบ้านไว้ถูกมาก ก็อย่าเพิ่งหลงเชื่อตัด สินใจซื้อเร็วเพราะเห็นว่าราคาถูก ควรคิดไว้เสมอว่าบ้านที่ราคาถูกมากอาจเป็นบ้านที่มีปัญหาก็ได้

ข้อที่ 4 พิจารณาสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน สภาพแวดล้อมของโครงการที่ต้องพิจารณา เช่น ที่ตั้ง ของตัวบ้าน มีปัญหาน้ำท่วมขังหรือไม่ อยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมมีมลพิษตลอดทั้งปี อยู่ใกล้อู่ซ่อมรถ ปะ ผุ รถ หรือร้านค้าของเก่าที่นำของเก่ามากองเป็นภูเขา อุดมด้วยสารพิษหรือไม่ อยู่ใกล้แหล่งเสื่อมโทรม มีกลิ่น น้ำเน่าตลอดปี เหล่านี้ ควรพิจารณาให้ดี

แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราสามารถพิจารณาจากสายตาของเราอยู่แล้วถ้าบ้านดี ราคาถูกมาก แต่ตั้งอยู่ในชุมชน เหล่านี้ ขอเตือนว่าอย่าซื้อ เพราะเท่ากับเอาชีวิตเราไปเสี่ยง ต้องคิดไว้เสมอว่าที่ราคาถูกเพราะคงขายไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อมไม่ดี

กรณีที่บ้านอยู่ในโครงการจัดสรร ควรสอบถามเพื่อนบ้านถึงปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องบริการชุมชนจาก บริษัทเจ้าของโครงการว่ามีการดำเนินการอย่างไร เช่น การรักษาความสะอาด เก็บขยะ ยามรักษาการณ์ ค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นอย่างไร การดูแลสภาพโครงการสม่ำเสมอหรือไม่ และเหมาะสมหรือไม่ เท่านี้ ข้อ ซักถามเหล่านี้ก็จะเป็นตัวเร่งการตัดสินใจซื้อได้อีกทางหนึ่ง

ข้อที่ 5 พิจารณาสภาพบ้าน การซื้อบ้านพร้อมอยู่แม้จะมีความมั่นใจว่าสามารถเข้าอยู่ได้แน่นอน (ถ้า จ่ายเงินครบ) เพราะเห็นตัวบ้านจริง ไม่ใช่แค่จ่ายเงินซื้อแปลนบ้าน แต่ก็มีความจำเป็นที่ต้องตรวจสภาพบ้าน ซึ่งต้องใช้ความละเอียดมากกว่าการตรวจสภาพบ้านจากการซื้อบ้านใหม่เสียอีก แม้จะเป็นบ้านมือสองก็ไม่ ควรเสื่อมโทรมมากนัก การพิจารณาก็ไม่ยากจนเกินไป ถ้าจะให้ดีก็ควรนำผู้รู้ไปตรวจดูก่อนตกลงซื้อเพราะ
ผู้ขายบางรายอาจตกแต่งใหม่เป็นการตบตาผู้ซื้อ การพิจารณาซื้อบ้านพร้อมอยู่ ต้องดูตั้งแต่โครงสร้างภาย นอกบ้าน โดยจะแบ่งหัวข้อพิจารณาอย่างคร่าว ๆ ดังนี้

1.ทิศทางลม ง่าย ๆ โดยการลองเดินดูในบ้าน สังเกตว่าอากาศถ่ายเทสะดวก โดยเฉพาะห้องนอน แสงแดดไม่ควรส่องในตอนบ่ายเพราะจะอมความร้อน ทิศทางลม เรียกว่าเมื่อเดินเข้าบ้านต้องให้ความรู้สึก สบาย โปร่ง โล่ง มีลมพัดและอากาศถ่ายเทสะดวก
2.ดูหลังคา กันสาด กระจก หน้าต่าง อย่าลืมว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ฝนตกชุก บางครั้งมีพายุด้วย ต้องเลือกสภาพหลังคาที่สมบูรณ์ ไม่รั่ว หากสวยด้วยก็ยิ่งดี หลังคาที่ดีต้องมีความลาดเอียงพอเหมาะไม่ชัน หรือเอียงน้อยเกินไปซึ่งควรจะมีชายคาที่ยื่นยาวคลุมอาคารโดยรอบ กันฝนสาด แดดเลียผนังทำให้ห้องร้อน เกินไป และที่ปลายชายคา ควรมีรางน้ำเพื่อให้น้ำฝนไหลลงพื้น ไม่ให้ไหลเลอะเทอะวัสดุมุงหลังคา ควรคงทน ไม่แตกหรือชำรุดง่าย สำหรับบ้านเดี่ยวควรมีฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ตลอดจนสังเกตโครงไม้ เพื่อดูว่ามีการป้องกันปลวกและแมลง หรือไม่ ส่วนโครงเหล็กให้สังเกตว่ามีการป้องกันสนิมหรือไม่

3.ผนัง ผนังบ้านเป็นส่วนที่สร้างความสวยงามให้บ้าน ควรสอบถามให้รู้ว่าเป็นผนังชนิดใด เช่น อิฐมอญ อิฐบล็อค หรือผนังสำเร็จรูป นอกจากความทนทานแล้ว ยังมีผลต่อการใช้งานในอนาคต เช่น การ ตกแต่งบ้าน ผนังนั้นสามารถตอกยึด แขวนเครื่องเรือนและสิ่งตกแต่งอื่น ๆ ได้หรือไม่ ถ้าผนังตกแต่งไว้แล้ว เช่น ติดวอลเปเปอร์ ต้องตรวจสอบความชื้นด้วยการเอามือสัมผัสดู

4.ระบบสาธารณูปโภคในบ้าน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ควรสอบถามเรื่องระบบไฟขั้นต่ำควรมี 15 แอมป์ แต่หากมีแค่ 5 แอมป์ก็ควรเตรียมเอกสารสำหรับการยื่นขอใช้ไฟเพิ่ม ตรวจดูสายไฟ สวิทซ์ไฟ อยู่ใน สภาพดีพร้อมใช้งานหรือไม่

ส่วนน้ำในที่นี้จะรวมถึงน้ำเสียด้วย น้ำที่ใช้เป็นน้ำประปา ท่อน้ำควรแข็งแรง ก็อกน้ำมีคุณภาพ ระบบระบาย น้ำเป็นอย่างไร สังเกตดูว่ามีรอยน้ำรั่วซึมออกมาหรือไม่ ลองเปรียบเทียบดูว่าเมื่อตัดสินเข้ามาอยู่แล้วต้อง ซ่อมแซมอะไรบ้าง ในความเป็นจริงแล้วบ้านมือสองที่จะอยู่ในสภาพดี 100 % คงหายาก ทางที่ดีก็ต้องเตรียม เงินไว้ส่วนหนึ่งสำหรับปรับปรุงสภาพบ้านให้ดีขึ้นหรือในกรณีที่ต้องซ่อมแซมมาก ใครคือผู้รับผิดชอบ ผู้ซื้อหรือผู้ขาย

5.ประตู หน้าต่าง ตรวจดูในเรื่องของวงกบ รอยแตกร้าว โดยการทดลองเปิด ปิด ประตู หน้าต่างทุกบาน ว่าเปิดปิดสะดวกหรือไม่และเป็นการทดสอบทิศทางลมไปในตัวด้วย

6.ดูว่ามีการต่อเติมบ้านหรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ผู้ซื้อควรสอบถามให้แน่ใจว่าบ้านมีการต่อเติมส่วนไหนบ้าง ถ้ามีการต่อเติมได้ดำเนินการถูกหลักวิชาการ หรือได้มีการขออนุญาตต่อเติมถูกต้องหรือไม่ ควรตรวจสอบเอกสารจากผู้ขายให้แน่ชัด เพราะการต่อเติมบ้านนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดรอยแตกร้าว หรือบ้านทรุดได้

7. จำนวนห้องในบ้าน พิจารณาพื้นที่ใช้สอยทั้งภายในและภายนอกบ้านว่ามีเพียงพอหรือไม่ พิจารณาว่าภายในบ้านมีสมาชิกคนใดที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัว เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน ต้องดูความจำเป็นของแต่ละคน เพราะถ้าทุกคนต้องการมีห้องส่วนตัวกันหมดคงต้องเลือกบ้านหลังใหญ่พอดู นอกจากนี้ เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ไม่ควรลืม ก็บรรดาสัตว์เลี้ยง เช่นสุนัข แมว ควรมีการจัดสรรพื้นที่ไว้สำหรับตามความเหมาะสมด้วย

ข้อที่ 6 งบประมาณ สำหรับข้อนี้ไม่เป็นปัญหาสำหรับคงมีงบประมาณเหลือเฟือแต่สำหรับคนที่มีฐานะปานกลางไม่ควรมองข้าม คงต้องเลือกตามที่คิดว่าพอรับผิดชอบไหว เพราะถึงแม้จะได้บ้านหลังที่พอดีกับครอบครัวหรือบางทีเล็กเกินไปแต่ไม่ถึงกับเดือดร้อน ก็ขอให้เลือกแบบนี้จะดีกว่า เรียกว่า?นกน้อยทำรังแต่พอตัวจะดีกว่า?

เพราะถึงแม้จะเป็นบ้านมือสอง แต่ราคาก็ใช่ว่าจะน้อย หากใครมีเงินพออยู่แล้วก็สบายไป แต่สำหรับผู้มีเงินไม่พอ ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้ เราสามารถกู้จากสถาบันการเงินได้ สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะพิจารณาจากเงินได้ รายได้ของครอบครัว (นำรายได้ของบิดา มารดา ภรรยา และบุตร มารวมกันได้) ลองติดต่อสถาบันการเงินที่สนใจดู

สำหรับเรื่องของราคาบ้านก็ควรตรวจสอบราคาจากหลาย ๆ ที่ในท้องตลาด โดยเปรียบเทียบระหว่างทำเล นอกจากนี้ อย่าลืมว่า ต้องกันเงินส่วนหนึ่งสำหรับการปรับปรุงบ้าน ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ หรือการตกแต่ง เพิ่มเติมบ้าง เพราะถึงจะนำเฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน มาจากหลังเก่า ก็น่าจะมีอะไรที่แปลกใหม่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้เข้ากับบ้านหลังใหม่บ้าง ในส่วนนี้สถาบันการเงินที่ขอกู้ ก็จะสินเชื่อเพื่อการตกแต่งหรือซ่อมแซมบ้านไว้บริการด้วย
....................................................................................................................